หลังจากสาธารณรัฐไอร์แลนด์ ผ่านกฎหมายอนุญาตให้ผู้หญิงสามารถ
ทำแท้งได้เมื่อปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา แต่ทำได้เฉพาะในเงื่อนไขที่จำกัดมาก
รายงานชิ้นนี้จะพาไปดูว่า
ประเทศใดบ้างที่ให้สิทธิผู้หญิงทำแท้งได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย
กฎหมาย การทำแท้งฉบับใหม่ของไอร์แลนด์ ระบุว่า ผู้หญิงสามารถทำแท้งได้อย่างถูกกฎหมายก็ต่อเมื่อแพทย์ 3 คนลงชื่อรับรองอย่างเป็นเอกฉันท์ ว่าหากปล่อยให้ตั้งครรภ์ต่อไป ผู้หญิงอาจมีอันตรายถึงชีวิต
ใน ขณะที่ผู้ต่อต้านการทำแท้งในไอร์แลนด์ต่อต้านกฎหมายฉบับนี้ ผู้สนับสนุนสิทธิการทำแท้งจำนวนมากก็โจมตีกฎหมายฉบับนี้เช่นกัน โดยกล่าวว่ากฎหมายให้สิทธิผู้หญิงอย่างจำกัดมาก ภายใต้กฎหมายนี้ ผู้หญิงที่ถูกข่มขืนจนตั้งครรภ์ ผู้หญิงที่ทารกในครรภ์พิการ และผู้หญิงที่ครรภ์เป็นพิษจนมีอันตราย แต่ไม่ถึงชีวิต ก็ยังไม่มีสิทธิทำแท้ง
หากไม่นับนครรัฐเล็กๆ อย่าง วาติกัน มอลตา และอันดอร์รา ไอร์แลนด์เป็น เพียงประเทศเดียวในยุโรปที่ยังจำกัดสิทธิผู้หญิงในการทำแท้งอย่างเคร่งครัด ประเทศในยุโรปส่วนใหญ่อนุญาตให้ผู้หญิงทำแท้งได้เสรีในระยะตั้งครรภ์ไม่เกิน 3 เดือน หากเกิน 3 เดือน ผู้หญิงยังสามารถทำแท้งได้ ถ้าแพทย์เห็นว่าการตั้งครรภ์อาจกระทบต่อสุขภาพทางร่างกาย หรือจิตใจของหญิงเจ้าของครรภ์ รวมถึงเด็กในท้องเสี่ยงจะพิการ หรือผู้หญิงอายุต่ำกว่า 14 ปี
สหรัฐอเมริกาและแคนาดา ก็ให้สิทธิทำแท้งค่อนข้างเสรี แม้ว่าแต่ละมลรัฐของสหรัฐฯ จะมีข้อจำกัดต่างกันอยู่บ้างสำหรับกรณีท้องแก่
ใน ทางตรงกันข้าม ประเทศในทวีปแอฟริกาเกือบทั้งหมดยังจำกัดสิทธิการทำแท้งอยู่มาก รายงานของสหประชาชาติเปิดเผยว่า ประเทศในทวีปแอฟริกา 54 ประเทศ มีเพียง 3 ประเทศเท่านั้นที่ให้สิทธิผู้หญิงทำแท้งได้เสรี ได้แก่ ตูนิเซีย แอฟริกาใต้ และเคปเวิร์ด
ประเทศในอเมริกาใต้ ซึ่งส่วนใหญ่ประชากรนับถือศาสนาคริสต์นิกายคาทอลิก ก็จำกัดสิทธิในการทำแท้ง ประเทศที่เป็นข้อยกเว้นคือ กายอานา ซึ่งเคยเป็นอาณานิคมอังกฤษ และมีประชากรกว่าครึ่งนับถือคริสต์นิกายแองกลิกัน
ประเทศในตะวันออก กลางส่วนใหญ่ก็ยังจำกัดสิทธิในการทำแท้งเช่นกัน // แม้แต่ในประเทศมุสลิมที่ร่ำรวยและเปิดเสรีทางเศรษฐกิจ อย่างกาตาร์ และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ผู้หญิงก็ยังมีสิทธิทำแท้งได้เพียงกรณีเดียว คือในกรณีที่การตั้งครรภ์อาจทำให้เสียชีวิตเท่านั้น
อย่างไรก็ดี มีประเทศที่เป็นข้อยกเว้นอยู่บ้าง ตุรกี ซึ่งเป็นประเทศที่คนส่วนใหญ่เป็นมุสลิม แต่รัฐไม่ยอมให้หลักศาสนาเข้ามากำหนดกฎหมาย ให้สิทธิผู้หญิงในการทำแท้งเทียบเท่าประเทศส่วนใหญ่ในยุโรป // นอกจากนี้ ตูนิเซียและบาห์เรนก็ให้สิทธิผู้หญิงทำแท้งได้ค่อนข้างเสรี
ประเทศมุสลิมในเอเชียกลาง เช่น คาซัคสถาน อุซเบกิซสถาน คีร์กีซสถาน และเติร์กเมนิสถาน ก็ให้สิทธิผู้หญิงทำแท้งได้อย่างเสรีเช่นกัน
หาก ไม่นับตะวันออกกลาง ทวีปเอเชียนับว่าเป็นทวีปที่ให้สิทธิผู้หญิงทำแท้งค่อนข้างมาก มี 17 ประเทศที่ให้สิทธิผู้หญิงทำแท้งได้ค่อนข้างเสรี จีน อินเดีย เกาหลีใต้ มองโกเลีย กัมพูชา สิงคโปร์ เวียดนาม และประเทศในเอเชียกลางเกือบทั้งหมดเปิดให้ทำแท้งได้อย่างถูกกฎหมาย
ประเทศ ในเอเชียที่ยังจำกัดสิทธิทำแท้ง ส่วนใหญ่มักเป็นประเทศเคร่งศาสนา ไม่ว่าศาสนาอิสลาม เช่น บรูไน บังกลาเทศ และอินโดนีเซีย หรือศาสนาพุทธ เช่น ศรีลังกา ภูฏาน และเมียนมาร์ และศาสนาคริสต์นิกายคาทอลิก เช่น ฟิลิปปินส์
ในประเทศไทย กฎหมาย อนุญาตให้ผู้หญิงทำแท้งได้ในกรณีที่การตั้งครรภ์ต่อไปจะเป็นอันตรายต่อ สุขภาพผู้หญิง หรือในกรณีที่ผู้หญิงถูกทำให้ตั้งครรภ์โดยวิธีผิดกฎหมาย เช่น ถูกข่มขืน แต่กฎหมายไทยก็ยังไม่ยอมให้ผู้หญิงทำแท้งในกรณีที่ทารกในครรภ์พิการ หรือในกรณีที่ผู้หญิงไม่พร้อมด้วยวัยวุฒิ และทุนทรัพย์ที่จะมีลูก
ตาม ข้อมูลของสหประชาชาติ ประเทศพัฒนาแล้วกว่าร้อยละ 82 อนุญาตให้ผู้หญิงทำแท้งด้วยเหตุผลทางเศรษฐกิจ ในขณะที่ประเทศกำลังพัฒนาเพียง 20 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่อนุญาต
กฎหมาย การทำแท้งฉบับใหม่ของไอร์แลนด์ ระบุว่า ผู้หญิงสามารถทำแท้งได้อย่างถูกกฎหมายก็ต่อเมื่อแพทย์ 3 คนลงชื่อรับรองอย่างเป็นเอกฉันท์ ว่าหากปล่อยให้ตั้งครรภ์ต่อไป ผู้หญิงอาจมีอันตรายถึงชีวิต
ใน ขณะที่ผู้ต่อต้านการทำแท้งในไอร์แลนด์ต่อต้านกฎหมายฉบับนี้ ผู้สนับสนุนสิทธิการทำแท้งจำนวนมากก็โจมตีกฎหมายฉบับนี้เช่นกัน โดยกล่าวว่ากฎหมายให้สิทธิผู้หญิงอย่างจำกัดมาก ภายใต้กฎหมายนี้ ผู้หญิงที่ถูกข่มขืนจนตั้งครรภ์ ผู้หญิงที่ทารกในครรภ์พิการ และผู้หญิงที่ครรภ์เป็นพิษจนมีอันตราย แต่ไม่ถึงชีวิต ก็ยังไม่มีสิทธิทำแท้ง
หากไม่นับนครรัฐเล็กๆ อย่าง วาติกัน มอลตา และอันดอร์รา ไอร์แลนด์เป็น เพียงประเทศเดียวในยุโรปที่ยังจำกัดสิทธิผู้หญิงในการทำแท้งอย่างเคร่งครัด ประเทศในยุโรปส่วนใหญ่อนุญาตให้ผู้หญิงทำแท้งได้เสรีในระยะตั้งครรภ์ไม่เกิน 3 เดือน หากเกิน 3 เดือน ผู้หญิงยังสามารถทำแท้งได้ ถ้าแพทย์เห็นว่าการตั้งครรภ์อาจกระทบต่อสุขภาพทางร่างกาย หรือจิตใจของหญิงเจ้าของครรภ์ รวมถึงเด็กในท้องเสี่ยงจะพิการ หรือผู้หญิงอายุต่ำกว่า 14 ปี
สหรัฐอเมริกาและแคนาดา ก็ให้สิทธิทำแท้งค่อนข้างเสรี แม้ว่าแต่ละมลรัฐของสหรัฐฯ จะมีข้อจำกัดต่างกันอยู่บ้างสำหรับกรณีท้องแก่
ใน ทางตรงกันข้าม ประเทศในทวีปแอฟริกาเกือบทั้งหมดยังจำกัดสิทธิการทำแท้งอยู่มาก รายงานของสหประชาชาติเปิดเผยว่า ประเทศในทวีปแอฟริกา 54 ประเทศ มีเพียง 3 ประเทศเท่านั้นที่ให้สิทธิผู้หญิงทำแท้งได้เสรี ได้แก่ ตูนิเซีย แอฟริกาใต้ และเคปเวิร์ด
ประเทศในอเมริกาใต้ ซึ่งส่วนใหญ่ประชากรนับถือศาสนาคริสต์นิกายคาทอลิก ก็จำกัดสิทธิในการทำแท้ง ประเทศที่เป็นข้อยกเว้นคือ กายอานา ซึ่งเคยเป็นอาณานิคมอังกฤษ และมีประชากรกว่าครึ่งนับถือคริสต์นิกายแองกลิกัน
ประเทศในตะวันออก กลางส่วนใหญ่ก็ยังจำกัดสิทธิในการทำแท้งเช่นกัน // แม้แต่ในประเทศมุสลิมที่ร่ำรวยและเปิดเสรีทางเศรษฐกิจ อย่างกาตาร์ และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ผู้หญิงก็ยังมีสิทธิทำแท้งได้เพียงกรณีเดียว คือในกรณีที่การตั้งครรภ์อาจทำให้เสียชีวิตเท่านั้น
อย่างไรก็ดี มีประเทศที่เป็นข้อยกเว้นอยู่บ้าง ตุรกี ซึ่งเป็นประเทศที่คนส่วนใหญ่เป็นมุสลิม แต่รัฐไม่ยอมให้หลักศาสนาเข้ามากำหนดกฎหมาย ให้สิทธิผู้หญิงในการทำแท้งเทียบเท่าประเทศส่วนใหญ่ในยุโรป // นอกจากนี้ ตูนิเซียและบาห์เรนก็ให้สิทธิผู้หญิงทำแท้งได้ค่อนข้างเสรี
ประเทศมุสลิมในเอเชียกลาง เช่น คาซัคสถาน อุซเบกิซสถาน คีร์กีซสถาน และเติร์กเมนิสถาน ก็ให้สิทธิผู้หญิงทำแท้งได้อย่างเสรีเช่นกัน
หาก ไม่นับตะวันออกกลาง ทวีปเอเชียนับว่าเป็นทวีปที่ให้สิทธิผู้หญิงทำแท้งค่อนข้างมาก มี 17 ประเทศที่ให้สิทธิผู้หญิงทำแท้งได้ค่อนข้างเสรี จีน อินเดีย เกาหลีใต้ มองโกเลีย กัมพูชา สิงคโปร์ เวียดนาม และประเทศในเอเชียกลางเกือบทั้งหมดเปิดให้ทำแท้งได้อย่างถูกกฎหมาย
ประเทศ ในเอเชียที่ยังจำกัดสิทธิทำแท้ง ส่วนใหญ่มักเป็นประเทศเคร่งศาสนา ไม่ว่าศาสนาอิสลาม เช่น บรูไน บังกลาเทศ และอินโดนีเซีย หรือศาสนาพุทธ เช่น ศรีลังกา ภูฏาน และเมียนมาร์ และศาสนาคริสต์นิกายคาทอลิก เช่น ฟิลิปปินส์
ในประเทศไทย กฎหมาย อนุญาตให้ผู้หญิงทำแท้งได้ในกรณีที่การตั้งครรภ์ต่อไปจะเป็นอันตรายต่อ สุขภาพผู้หญิง หรือในกรณีที่ผู้หญิงถูกทำให้ตั้งครรภ์โดยวิธีผิดกฎหมาย เช่น ถูกข่มขืน แต่กฎหมายไทยก็ยังไม่ยอมให้ผู้หญิงทำแท้งในกรณีที่ทารกในครรภ์พิการ หรือในกรณีที่ผู้หญิงไม่พร้อมด้วยวัยวุฒิ และทุนทรัพย์ที่จะมีลูก
ตาม ข้อมูลของสหประชาชาติ ประเทศพัฒนาแล้วกว่าร้อยละ 82 อนุญาตให้ผู้หญิงทำแท้งด้วยเหตุผลทางเศรษฐกิจ ในขณะที่ประเทศกำลังพัฒนาเพียง 20 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่อนุญาต